วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประเภทของสารและการเปลี่ยนแปลง

ประเภทของสารและการเปลี่ยนแปลง


สาร และ สมบัติของสาร
สสาร ( Matter ) หมายถึงสิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และ สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ภายใน
สสารเป็นเนื้อของสสาร เรียกว่า สาร ( Substance ) 
สาร ( Substance )
 คือ สสารที่ทราบสมบัติ หรือ สสารที่จะศึกษา ดังนั้นจึงเป็นสสารที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีสมบัติของสาร
ประเภท คือ 
สมบัติกายภาพ ( Physical Property )
 หมายถึง สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอก และ เกี่ยวกับวิธีการทางฟิสิกส์ เช่น
ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว
สมบัติทางเคมี ( Chemistry Property )
 หมายถึง สมบัติที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาเคมี เช่น การติดไฟ การเป็นสนิม ความเป็น
กรด - เบส ของสาร
การเปลี่ยนแปลงสาร

การเปลี่ยนแปลงสาร แบ่งออกเป็น รูปแบบ คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ( Physical Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวกับสมบัติกายภาพ โดยไม่มีผลต่อ
องค์ประกอบภายใน และ ไม่เกิดสารใหม่ เช่น การเปลี่ยนสถานะ การละลายน้ำ 
การเปลี่ยนแปลงทางทางเคมี ( Chemistry Change )
 หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมี
ซึ่งมีผลต่อองค์ประกอบภายใน และจะมีสมบัติต่างไปจากเดิม นั่นคือ การเกิดสาร


ใหม่ เช่น กรดเกลือ ( HCl ) ทำปฏิกิริยากับลวดแมกนีเซียม ( Mg ) แล้วเกิดสารใหม่

คือ ก๊าซไฮโดรเจน ( 
H2 )


การจัดจำแนกสาร 
จะสามารถจำแนกออกเป็น กรณี ได้แก่1. การใช้สถานะเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ
สถานะที่เป็นของแข็ง ( Solid ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรคงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดติดกัน เช่น ด่างทับทิม ( KMnO4 )
ทองแดง ( Cu )
สถานะที่เป็นของเหลว ( Liquid ) จะมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ และ มีปริมาตรที่คงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดกันน้อยกว่า
ของแข็ง และ มีสมบัติเป็นของไหล เช่น น้ำมัน แอลกอฮอล์ ปรอท ( Hg ) ฯลฯ
สถานะที่เป็นก๊าซ ( Gas ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรที่ไม่คงที่ โดยรูปร่าง จะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคภายในจะอยู่
ห่างกันมากที่สุด และ มีสมบัติเป็นของไหลได้ เช่น ก๊าซหุงต้ม อากาศ
2. การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ จะมีสมบัติทางกายภาพของสารที่ได้จากการสังเกตลักษณะความแตกต่างของเนื้อสาร ซึ่งจะจำแนก

ได้ออกเป็น กลุ่ม คือ 
สารเนื้อเดียว ( Homogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารเหมือนกันทุกส่วน ทำให้สารมีสมบัติเหมือนกัน
ตลอดทุกส่วน เช่น แอลกอฮอล์ ทองคำ ( Au ) , โลหะบัดกรี 
สารเนื้อผสม ( Heterogeneous Substance )
 หมายถึง สารที่มีเนื้อสารแตกต่างกันในแต่ละส่วน จะทำให้สารนั้นมีสมบัติ
ไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น น้ำอบไทย น้ำคลอง ฯลฯ
3. การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 
กลุ่ม คือ
สารที่ละลายน้ำได้ เช่น เกลือแกง ( NaCl ) , ด่างทับทิม ( KMnO4 ) ฯลฯ
สารที่ละลายน้ำได้บ้าง เช่น ก๊าซคลอรีน ( Cl2 ) , ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ฯลฯ
สารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น กำมะถัน ( S8 ) , เหล็ก ( Fe ) ฯลฯ 
4. การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 
กลุ่ม ได้แก่
สารที่นำไฟฟ้าได้ เช่น ทองแดง ( Cu ) , น้ำเกลือ ฯลฯ
สารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น หินปูน ( CaCO3 ) , ก๊าซออกซิเจน ( O2 )
5.ใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์ ใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณ์ แบ่งสารออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือโลหะ (metal) เช่น ทองคำ(Au) ทองแดง(Cu) เงิน(Ag) 
เหล็ก(
Fe) ปรอท(Hg) สังกะสี(Zn) ดีบุก(Sn) ตะกั่ว(Pb) โซเดียม(Na) แมกนีเซียม

(
Mg) 
เป็นต้น
อโลหะ (non - metal) เช่น คาร์บอน(C) ฟอสฟอรัส(P) กำมะถัน(S) ออกซิเจน(O) ไฮโดรเจน(H) ฮีเลียม(He) คลอรีน(Cl) เป็นต้นกึ่งโลหะ (metalloid) เช่น ซิลิคอน(Si) ซีลิเนียม(Se) เจอร์เมเนียม(Ge) อาร์เซนิก(As) เป็นต้น
โดยส่วนมากนักวิทยาศาสตร์จะจำแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ดังนี้

สารแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ สารเนื้อเดียว และสารเนื้อผสม
สารเนื้อเดียว
        สารเนื้อเดียว คือ สารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียว และถ้าตรวจสอบสมบัติของสาร

จะเหมือนกันทุกส่วน อาจมีองค์ประกอบเดียว หรือหลายองค์ประกอบ แบ่งเป็นสาร

บริสุทธิ์และสารละลาย

1. 
สารบริสุทธิ์ เป็นสารที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว ได้แก่ ธาตุและสารประกอบ ซึ่งก็คือ สารที่เกิดจากองค์ประกอบมากกว่าหนึ่งชนิด แต่มีอัตราส่วนโดยมวลของสารที่เป็นองค์ประกอบ
- ธาตุ
Element ) คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียวกัน เช่น คาร์บอน ( C ) , 
กำมะถัน( S8 )
ซึ่งธาตุแบ่งเป็น
       โลหะ (เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน)
        อโลหะ (เช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สไนโตรเจน)
        กึ่งโลหะ (เช่น อะลูมิเนียม)
-
 สารประกอบ Compound Substance ) เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน โดยมีอัตราส่วนในการร่วมกันคงที่แน่นอน ได้แก่ กรดน้ำส้ม ( CH3COOH ) , กรดไฮโดรคลอริก ( HCl ) ฯลฯ
2. สารละลาย เป็นของผสมเนื้อเดียว มีอัตราส่วนโดยมวลของสารที่เป็นองค์ประกอบไม่คงที่ องค์ประกอบของสารละลาย มี ส่วน คือ1. ตัวทำละลาย คือ สารที่มีปริมาณมากที่สุดในสารละลาย (กรณีสถานะองค์

ประกอบเหมือนกัน) หรือเป็นสารที่มีสถานะเดียวกับสารละลาย (กรณีสถานะองค์ประกอบต่างกัน)

2. ตัวละลาย คือ สารที่มีปริมาณอยู่น้อยในสารละลาย หรือมีสถานะต่างจากสาร
ละลาย เช่น- น้ำเกลือ เป็นสารละลาย ประกอบด้วยน้ำและเกลือ พิจารณา น้ำเกลือ มีสถานะเป็นของเหลว และน้ำก็มีสถานะเป็นของเหลว ดังนั้น น้ำจึงเป็นตัวทำละลาย ส่วนเกลือ เป็นของแข็ง จึงเป็นตัวละลาย-อากาศ เป็นสารละลาย ประกอบด้วย1) 
แก๊สไนโตรเจน ประมาณ 
78%2) แก๊สออกซิเจน ประมาณ 21%3) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สเฉื่อย 1%พิจารณา อากาศมีองค์ประกอบสถานะเดียวกัน คือ แก๊ส จึงต้องดูปริมาณสารที่เป็นองค์ประกอบ ดังนั้น แก๊สไนโตรเจน เป็นตัวทำละลาย (มีปริมาณมากกว่า) ส่วนแก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สเฉื่อยเป็นตัวละลายข้อควรทราบตัวทำละลาย จะมีเพียงองค์ประกอบเดียว แต่ตัวละลายสามารถมีหลายองค์ประกอบสารละลาย คือ ตัวทำละลาย + ตัวละลาย
สารเนื้อผสม
สารเนื้อผสม คือ สารที่มีองค์ประกอบมากกว่าหนึ่งส่วน สารที่มองไม่เป็นเนื้อเดียวหรือองค์ประกอบเดียว แต่จะสามารถเห็นเป็น 2 องค์ประกอบขึ้นไป
- สารเนื้อผสม แบ่งเป็น คอลลอยด์ และสารแขวนลอย
- สารผสม แบ่งเป็น สารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอย
- สารแขวนลอย คือ สารผสมที่ประกอบด้วยสารที่อนุภาคมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า เซนติเมตร กระจายอยู่ในสารที่เป็นตัวกลางอีกชนิดหนึ่ง เมื่อทิ้งไว้จะตกตะกอน สามารถที่จะแยกอนุภาคในสารแขวนลอยได้โดยการใช้กระดาษกรอง
- คอลลอยด์ คือ สารผสมที่ประกอบด้วยสารที่อนุภาคมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง - เซนติเมตร กระจายอยู่ในสารที่เป็นตัวกลางอีกชนิดหนึ่ง สามารถที่จะแยกอนุภาคในคอลลอยด์ออกจากตัวกลางได้โดยการใช้กระดาษเซลโลเฟนเท่านั้น ไม่สามารถใช้กระดาษกรองในการแยกอนุภาคได้เนื่องจากอนุภาคของคอลลอยด์มีขนาดเล็กกว่ารูของกระดาษกรอง
สรุปข้อแตกต่างระหว่างสารผสมกับสารเนื้อผสม
ข้อแตกต่างระหว่างสารผสมกับสารเนื้อผสม คือ สารผสมมีองค์ประกอบตั้งแต่ 2 ส่วนขึ้นไป ซึ่งอาจจะมองเห็นเพียงส่วนเดียวหรือหลายส่วนก็ได้ (ส่วนเดียว คือ มองเห็นเป็นเนื้อเดียว ได้แก่ สารละลาย หลายส่วน คือ มองเห็นเป็นเนื้อผสม ได้แก่ คอลลอยด์ และสารแขวนลอย)
- สารผสม ต่างก็เป็นสารไม่บริสุทธิ์ มีความแตกต่างกันในเรื่องขนาดของอนุภาค
- สารแขวนลอย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคมากกว่า เซนติเมตร
                                         ตัวอย่างสารแขวนลอย

- คอลลอยด์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคอยู่ระหว่าง -เซนติเมตร
                             ตัวอย่างคอลลอยด์
 - สารละลาย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคเล็กกว่า เซนติเมตร
                        ตัวอย่างสารละลาย
วิธีการตรวจสอบสารผสมทั้ง 3 ชนิด ทำได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1
ตั้งสารตัวอย่างที่ต้องการตรวจสอบไว้ แล้วถ้าตกตะกอนก็แสดงว่า สารตัวอย่างนั้นเป็นสารแขวนลอย (อนุภาคขนาดใหญ่ มวลจึงมาก ทำให้ตกตะกอน)
 วิธีที่ 2
ทดสอบโดยใช้วิธีการกรองผ่านกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน ซึ่งกระดาษกรองสามารถกรองสารที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า เซนติเมตรขึ้นไป และกระดาษเซลโลเฟนซึ่งสามารถกรองสารที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า เซนติเมตร
สรุปผลการทดสอบ
1. สารแขวนลอย ไม่สามารถผ่านทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟนได้ (อนุภาค เซนติเมตร)
2. คอลลอยด์ ผ่านกระดาษกรองได้ แต่ไม่สามารถผ่านกระดาษเซลโลเฟนได้ (เซนติเมตร อนุภาค เซนติเมตร)
3. สารละลาย ผ่านได้ทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน (อนุภาค เซนติเมตร)
ข้อควรทราบคอลลอยด์มีลักษณะพิเศษกว่าสารผสมประเภทอื่นๆ คือ สามารถเกิด "ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall Effect)"
ปรากฏการณ์ทินดอลล์ ค้นพบโดย จอห์น ทินดอลล์ (John Tyndall) นักวิทยาศาสตร์ชาวไอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2412
ปรากฏการณ์ทินดอลล์ คือ แสงกระทบอนุภาคของคอลลอยด์จะเกิดการกระเจิงแสง ทำให้มองเห็นเป็นลำแสงในคอลลอยด์นั้น โดยแสงไม่สามารถทะลุผ่านคอลลอยด์ได้
                        จอห์น ทินดอลล์

 ประเภทของคอลลอยด์
1. เจล (gel) เป็นคอลลอยด์ที่เกิดจากสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายอยู่ในสารที่เป็นตัวกลางที่มีสถานะเป็นของเหลว และมักจะมีลักษณะที่มีความเหนียวหนืด เช่น กาวลาเท็กซ์ แป้งเปียก แยมผลไม้ต่างๆ เยลลี่ เป็นต้น


                                             ตัวอย่างคอลลอยด์ชนิดเจล
2. โฟม (foam) เป็นคอลลอยด์ที่อาจเกิดจากแก๊สที่กระจายอยู่ในของแข็งและของเหลวได้
- แก๊สที่กระจายอยู่ในของแข็ง เช่น ขนมสาลี่ ฟองน้ำที่ใช้สำหรับถูตัว เป็นต้น- แก๊สที่กระจายอยู่ในของเหลว เช่น ฟองเบียร์ ฟองจากผงซักฟอก ฟองจากโฟมล้างหน้า เป็นต้น
                                                         ตัวอย่างคอลลอยด์ชนิดโฟม
3. แอโรซอล (aerosol) เป็นคอลลอยด์ที่อาจจะเกิดจากสารที่มีสถานะเป็นของแข็งหรือของเหลวที่กระจายอยู่ในแก๊สได้
- ของแข็งที่กระจายอยู่ในแก๊ส เช่น ฝุ่นละอองที่กระจายอยู่ในอากาศ กลุ่มควัน เป็นต้น- ของเหลวที่กระจายอยู่ในแก๊ส เช่น สเปรย์ปรับอากาศ ยาฆ่าแมลงชนิดสเปรย์ เป็นต้น
                                             กลุ่มควัน
                             ตัวอย่างคอลอยด์ชนิดแอโรซอล
4. อิมัลชัน (emulsion) เป็นคอลลอยด์ที่เกิดจากสารที่มีสถานะเป็นของเหลว และไม่รวมกันเป็นเนื้อเดียว ถูกทำให้รวมกันโดยการเติมสารที่เป็นอิมัลซิฟายเออร์ ซึ่งเป็นตัวประสานให้ของเหลวทั้งสองรวมตัวกัน เกิดเป็นสารที่เรียกว่า อิมัลชัน เช่น
- น้ำมันผสมกับน้ำ มีน้ำสบู่เป็นอิมัลซิฟายเออร์
- น้ำสลัด (น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู) มีไข่แดงเป็นอิมัลซิฟายเออร์
ข้อควรทราบ
- ของเหลวที่ไม่รวมตัวกัน มารวมตัวกันได้ เรียกว่า อิมัลชัน (emulsion)
- สารที่ทำให้เกิดการประสานรวมกัน เรียกว่า อิมัลซิฟายเออร์ (emulzifier)
5. ซอล (sol) เป็นคอลลอยด์ที่เกิดจากสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง มีโมเลกุลขนาดเล็กกระจายอยู่ในสารที่เป็นตัวกลางที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำแป้ง น้ำอบไทย เป็นต้น
                                      น้ำแป้ง
                             ตัวอย่างสารละลายประเภทซอล

การแยกสาร
                สารในธรรมชาติส่วนมากจะผสมอยู่ด้วยกันตั้งแต่ ชนิดขึ้นไปเป็นสารผสมซึ่งองค์ประกอบของสารผสมจะแสดงสมบัติเดิมก่อนผสม ถ้าเราต้องการแยกองค์ประกอบของสารผสมเราจะต้องทราบสมบัติของสารองค์ประกอบเพื่อจะเลือกวิธีที่เหมาะสมในการแยกสารและสามารถนำสารที่แยกได้ไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งการแยกสารมีหลายวิธีดังนี้
1.การกรอง (Fittration) 
                การกรอง 
คือการทำให้ของแข็งและของเหลวแยกออกจากกันโดยใช้วัสดุต่างๆนอกเหนือจากกระดาษกรองก็ได้ เช่น ผ้าขาวบางหรือผ้าชนิดต่างๆ เป็นต้นส่วนวิธีกรองนั้นก็นำที่มีสิ่งอื่นๆเจือปนมาเทลงที่กระดาษกรองที่พับเป็นรูปกรวยและใส่กรวยแก้วไว้แล้วถ้าของแข็งที่เจือปนอยู่ในของเหลวนั้นมีขนาดใหญ่กว่า 10-4เซนติเมตร ของแข็งนั้นก็ไม่สามารถผ่านกระดาษกรองไปได้แต่ถ้าเล็กกว่าก็จะสามารถผ่านได้ สำหรับกรณีที่ของแข็งเล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร นั้นเราก็สามารถใช้กระดาษเซลโลเฟนที่มีขนาด 10-7 เซนติเมตร ก็ได้

 2.การกลั่น (Distillation) 
                การกลั่น (
distillation) เป็นการแยกสารที่มีสถานะเป็นของเหลวออกจากสารละลาย โดยอาศัยจุดเดือดที่ต่างกัน โดยที่สารบริสุทธิ์แต่ละชนิด เปลี่ยนสถานะได้ที่อุณหภูมิจำเพาะ สารที่มีจุดเดือดต่ำจะเดือดเป็นไอออกมาก่อน เมื่อทำให้ไอของสารมีอุณหภูมิต่ำลงจะควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง
3.การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย (simple distillation)
                
การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย (simple distillation)เป็นวิธีการที่ใช้กลั่นแยกสารที่ระเหยง่ายซึ่งปนอยู่กับสารที่ระเหยยาก การกลั่นธรรมดานี้จะใช้แยกสารออกเป็นสารบริสุทธิ์เพียงครั้งเดียวได้สารที่มีจุดเดือดต่างกันตั้งแต่ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป

4.การกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation)
                
การกลั่นลำดับส่วนเป็นวิธีการแยกของเหลวที่สามารถระเหยได้ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มี หลักการเช่นเดียวกันกับการกลั่นแบบธรรมดา คือเพื่อต้องการแยกองค์ประกอบในสารละลายให้ออกจากกัน แต่ก็จะมีส่วนที่แตกต่างจากการกลั่นแบบธรรมดา คือ การกลั่นแบบกลั่นลำดับส่วนเหมาะสำหรับใช้กลั่นของเหลวที่เป็นองค์ประกอบของสารละลาย ที่จุดเดือดต่างกันน้อย ๆ ในขั้นตอนของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน จะเป็นการ นำไอของแต่ละส่วนไปควบแน่น แล้วนำไปกลั่นซ้ำและควบแน่นไอเรื่อย ๆ ซึ่งเทียบได้กับเป็นการกลั่นแบบธรรมดาหลาย ๆ ครั้งนั่นเอง ความแตกต่างของการกลั่นลำดับส่วนกับการกลั่นแบบธรรมดา จะอยู่ที่คอลัมน์ โดยคอลัมน์ของการกลั่นลำดับส่วนจะมีลักษณะเป็นชั้นซับซ้อน เป็นชั้นๆ ในขณะที่คอลัมน์แบบธรรมดาจะเป็นคอลัมน์ธรรมดา ไม่มีความซับซ้อนของคอลัมน์
                                                       
5.การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
                
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นวิธีการสกัดสารออกจากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ละเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก
 การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำนอกจากใช้สกัดสารระเหยง่ายออกจากสารระเหยยากแล้วยังสามารถใช้แยกสารที่มีจุดเดือดสูงและสลายตัวที่จุดเดือดของมันได้อีก เพราะการกลั่นโดยวิธีนี้ความดันไอเป็นความดันไอของไอน้ำบวกความดันไอของของเหลวที่ต้องการแยก จึงทำให้ความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศก่อนที่อุณหภูมิจะถึงจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยก ของ ผสมจึงกลั่นออกมาที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของของเหลวที่ต้องการแยก
6.การสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย เป็นวิธีทำสารให้บริสุทธิ์ หรือเป็นวิธีแยกสารออกจากกัน โดยอาศัยสมบัติของการละลายของสารแต่ละชนิด เนื่องจากสารต่างชนิดกันละลายในตัวทำละลายต่างชนิดกันได้ต่างกัน และสารชนิดเดียวกันละลายในตัวทำละลายต่างชนิดได้ต่างกันการสกัดด้วยตัวทำละลายต้องเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมคือ สกัดสารที่ต้องการได้มาก ตัวทำละลายต้องไม่เป็นพิษ
และแยกออกได้ง่าย

7.การใช้กรวยแยก
                การใช้กรวยแยก
 ใช้แยกสารเนื้อผสม ที่เป็นของเหลวผสมอยู่กับของเหลวแต่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยของเหลวที่มี ความหนาแน่นน้อยกว่าจะอยู่ข้างบน ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากกว่า จะอยู่ข้างล่าง
 ตัวอย่าง การแยกน้ำมันที่ผสมปนอยู่กับน้ำ ทำได้โดยนำของผสมมาใส่ลงในกรวยแยก น้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจะลอยอยู่เหนือน้ำ จากนั้นค่อย ๆ เปิดก๊อกของกรวยแยกไข แยกน้ำออกมาก่อน และแยกน้ำมันออกมาทีหลัง
8.โครมาโทกราฟี (Chromatography)
             โครมาโทกราฟี เป็นวิธีแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบของสารตั้งแต่ ชนิดขึ้นไปละลายในของเหลวเดียวกัน โดยอาศัยสมบัติ 2 ประการคือ 
                     1.
สารต่างชนิดกันมีความ สามารถในการละลายในตัวทำละลาย ได้ต่างกัน
                     2.
สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับได้ต่างกัน
  
โครมาโทกราฟีเป็นการแยกสารผสมที่มีสีหรือสารที่สามารถทำให้เกิดสีได้
หมายเหตุ สารที่ละลายได้ดีจะเคลื่อนที่บนตัวดูดซับไปอยู่ไกลจุดเริ่มต้น
                สารที่ถูกดูดซับดีจะเคลื่อนที่บนตัวดูดซับไปอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น
 9.การตกผลึก (Crystallization)
                การตกผลึก
 (Crystallization) เป็นวิธีการแยกตัวละลายที่เป็นของแข็งออกจากสารละลาย โดยอาศัยความสามารถในการละลายของสารต่างชนิดกันในตัวทำละลายชนิดเดียวกันจะแตกต่างกัน ด้วยการทำให้สารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูงมีอุณหภูมิลดลง สารที่มีความสามารถในการละลายต่ำจะตกผลึกก่อนถ้าการตกผลึกเกิดเร็วจะได้ผลึกจะเล็กไม่สมบูรณ์

10.การใช้แม่เหล็กดูด
                
การใช้อำนาจแม่เหล็กเป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมซึ่งองค์ประกอบหนึ่งมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดูดได้ เช่น ของผสมระหว่างผงเหล็กกับผงกำมะถัน โดยใช้แม่เหล็กถูไปมาบนแผ่นกระดาษที่วางทับของผสมทั้งสอง แม่เหล็กจะดูดผงเหล็กแยกออกมา
11.การตกตะกอน
          
การตกตะกอน ใช้แยกของผสมเนื้อผสมที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว ทำได้โดยนำของผสมนั้นวางทิ้งไว้ให้สารแขวนลอยค่อย ๆ ตกตะกอนนอนก้น ในกรณีที่ตะกอนเบามากถ้าต้องการให้ตกตะกอนเร็วขึ้น อาจทำได้โดย ใช้สารตัวกลางให้อนุภาคของตะกอนมาเกาะ เมื่อมีมวลมากขึ้น น้ำหนักจะมากขึ้นจะตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น ใช้สารส้มแกว่ง อนุภาคของสารส้มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้โมเลกุลของสารที่ต้องการตกตะกอนมาเกาะตะกอนจะตกเร็วขึ้น

 12.การระเหยแห้ง                 การแยกสารด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับใช้แยกสารผสมที่เป็นของเหลวและมีของแข็งละลายในของเหลวนี้ จนทำให้สารผสมมีลักษณะเป็นของเหลวใส ซึ่งเราเรียกสารผสมนี้ว่าสารละลาย เช่น น้ำทะเล น้ำเชื่อมน้ำเกลือ เป็นต้น การแยกสารโดยวิธีการระเหยแห้งนิยมใช้ในการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล
มีการนำเกลือเพื่อแยกน้ำทะเลให้ได้เกลือสมุทรโดยวิธีการระเหยแห้ง

13.การใช้ความร้อนวิธีนี้แยกของผสมชนิดก๊าซละลายในของเหลว
14.การเปลี่ยนอุณหภูมิและความดัน วิธีนี้ใช้สำหรับแยกของผสมที่องค์ประกอบทั้งหมดเป็นก๊าซแต่ละชนิดมีจุดเดือดไม่เท่ากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น